1 ลักษณะทางกายภาพ
1.1 ที่ตั้ง ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 25 – 17 องศาเหนือและเส้นแวงที่ 101-103 องศาตะวันออกซึ่งอยู่บริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานคร 445 กิโลเมตร
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ในความรับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 12 หรือกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม และ ร้อยเอ็ด มีพื้นที่ของกลุ่มจังหวัดรวม 19.6 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 17 ของพื้นที่ภาค โดยจังหวัดขอนแก่นมีพื้นที่มากที่สุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และ จังหวัดมหาสารคามตามลำดับและมีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 1.80 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของภาคกลุ่มจังหวัดตั้งอยู่ตอนกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำชีที่อยู่ตอนกลางของพื้นที่และที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของพื้นที่ โดยทางทิศตะวันตกและทิศเหนือจะมีสภาพเป็นภูเขา เทลาดมาทางทิศตะวันออก และมีอาณาเขต ดังนี้ (สำนักบริหารยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง, 2560 : 2-15)
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ จ.เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี และ จ.สกลนคร
- ทิศใต้ ติดต่อกับ จ.ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จ.มุกดาหาร ยโสธร
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จ.ชัยภูมิ เพชรบูรณ์
ลักษณะภูมิประเทศโดยรวมของกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำชีประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ ลักษณะของพื้นที่จะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร และเทลาดจากทางทิศตะวันตกไปสู่ทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกลักษณะของพื้นที่จะเป็นพื้นที่ภูเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขา ภูพานทางตอนเหนือของจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนทางทิศตะวันตกประกอบด้วยเทือกเขาภูเก้า- ภูพานคำ เทือกเขาในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์และเทือกเขาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งกระมัง จังหวัดชัยภูมิ
1.3 ภูมิอากาศ พื้นที่ในความรับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 12 จัดอยู่ใน
กลุ่มที่มีฝนตกสลับกับแห้งแล้ง ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีผลทำให้อากาศหนาวเย็น และพายุดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ ทำให้มีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ระยะใกล้-ไกลทะเล จะทำให้อากาศมีความแตกต่างกันระหว่างฤดูร้อยและฤดูหนาวมากเนื่องจากไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล มีอุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ย 36.35 องศาเซลเซียสมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว ในแต่ละฤดูจะมีช่วงเวลาไม่คงที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และอิทธิพลของลมมรสุมเป็นหลัก
1.4 การใช้ประโยชน์ที่ดิน
ในปี 2555 พื้นที่โดยรวมของกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 34,894.31 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 19,639,918 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 18.61 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคิดเป็นร้อยละ 6.49 ของพื้นที่ทั้งประเทศ แบ่งการใช้ประโยชน์ ของพื้นที่ ดังนี้
ตาราง พื้นที่การเกษตร ชลประทาน และป่าไม้ของพื้นที่กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ปี 2556
หน่วย : ไร่
รายการ |
ขอนแก่น |
กาฬสินธุ์ |
ร้อยเอ็ด |
มหาสารคาม |
รวม |
1.พื้นที่การเกษตร - พื้นที่ชลประทาน 2.พื้นที่ป่าไม้ 3.พื้นที่นอกการเกษตร |
4,219,427 449,641 713,922 1,870,395 |
2,833,408 354,000 457,087 1,051,221 |
3,714,122 474,277 195,108 1,276,926 |
2,817,855 382,767 145,900 343,547 |
13,585,812 1,660,685 1,512,017 4,542,089 |
พื้นที่ทั้งหมด |
6,803,744 |
4,341,716 |
5,186,156 |
3,307,302 |
19,639,918 |
จำนวนครัวเรือนเกษตร |
210,517 |
156,190 |
189,898 |
148,705 |
705,310 |
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (ผลสำรวจเบื้องต้น วันที่ 21 ม.ค. 58)
พื้นที่ชลประทาน : ที่มา โครงการชลประทาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด (พ.ศ. 2559)
จากตารางข้อมูลข้างต้น พื้นที่กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง มีพื้นที่การเกษตรรวม 13.58 ล้านไร่ โดยจังหวัดขอนแก่นมีพื้นที่การเกษตรมากที่สุดจำนวน 4.21 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 31.06 ของพื้นที่การเกษตร รองลงมาได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด 3.71 ล้าน ไร่ คิดเป็นร้อยละ 27.34 จังหวัดกาฬสินธุ์ 2.83 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 20.86 และจังหวัดมหาสารคามมีพื้นที่การเกษตรน้อยที่สุด 2.81 ล้าน ไร่ คิดเป็นร้อยละ 20.74 ตามลำดับ ในส่วนพื้นที่ชลประทานเมื่อพิจารณาเป็นรายจังหวัดพบว่า จังหวัดร้อยเอ็ดมีพื้นที่ชลประทานมากที่สุด 0.47 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 28.56 รองลงมาได้แก่ ขอนแก่น0.45 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 27.08 มหาสารคาม 0.38 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 23.04 และ กาฬสินธุ์ 0.35 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 21.32 ในส่วนของพื้นที่ป่าไม้จะพบว่า จังหวัดขอนแก่นมีจำนวนพื้นที่ป่าไม้มากที่สุด 0.71 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 47.22 รองลงมาได้แก่ กาฬสินธุ์ 0.45 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 30.23 ร้อยเอ็ด 0.19 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 12.90 และจังหวัดมหาสารคาม 0.14 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.65 ตามลำดับ ส่วนของพื้นที่นอกการเกษตรจังหวัดขอนแก่นมีพื้นที่มากที่สุด 1.87 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 41.18 รองลงมาได้แก่ ร้อยเอ็ด 1.27 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 28.11 กาฬสินธุ์ 1.05 ล้าน ไร่ คิดเป็นร้อยละ 23.14 และมหาสารคาม 0.34 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.56 ตามลำดับ
ตาราง การถือครองที่ดิน และการใช้ที่ดินของกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ปี 2556
หน่วย : ไร่
รายการ |
ขอนแก่น |
กาฬสินธุ์ |
ร้อยเอ็ด |
มหาสารคาม |
ภาพรวมกลุ่ม |
1. การใช้ที่ดินทางการเกษตร (ไร่) -ที่นาข้าว -ที่พืชไร่ -ที่ไม้ผลไม้ยืนต้น -ที่สวนผักไม้ดอก/ไม้ประดับ -เนื้อที่ใช้ประทางการเกษตรอื่น ๆ -เนื้อที่ใช้ประโยชน์นอกภาคการเกษตร - จำนวนฟาร์ม |
2,798,161 948,012 91,021 15,482 366,751 1,870,395 198,241 |
1,656,402 658,760 182,314 22,024 313,908 1,051,221 139,562 |
3,363,960 148,520 56,218 6,338 140,086 1,276,926 180,593 |
2,328,152 264,289 40,332 6,649 178,433 343,547 135,759 |
10,146,675 2,019,581 369,885 50,493 999,178 4,542,089 654,155 |
2. จำนวนครัวเรือนเกษตร |
210,217 |
156,190 |
198,898 |
148,705 |
705,310 |
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ข้อมูล ณ วันที่ 21 มกราคม 2558
จากตารางข้อมูลการของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2556 สรุปได้ว่าพื้นที่ของกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง มีเนื้อที่ทั้งหมดรวม 19.6 ล้านไร่ เป็นพื้นที่พื้นที่ป่าไม้ 1.5 ล้านไร่ โดยมีเนื้อที่ใช้ประโยชน์นอกภาคการเกษตร 4.5 ล้านไร่ และเนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร 13.6 ล้านไร่ แยกเป็นที่นาข้าวรวม 10.1 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 74.67 จังหวัดที่มีการใช้ที่ดินในที่นาข้าวมากที่สุดคือ จังหวัดร้อยเอ็ด เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการทำนา โดยเฉพาะการปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่ ทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวหอมมะลิของจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นที่รู้จักและยอมรับกันโดยทั่วไป อีกทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ เนื่องจากข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้จะมีเอกลักษณ์และแตกต่างไปจากข้าวหอมมะลิที่ผลิตจากแหล่งปลูกพืชอื่น ๆ คือ ความหอม ซึ่งมีผลมาจากสภาพของภูมิศาสตร์และแสงแดดที่เหมาะสม พอเหมาะน่ารับประทานทำให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภค และกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2550 พื้นที่นาข้าว รองลงมาได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ ตามลำดับ
ขอบขอบคุณ : สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง, 2560. แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง (พ.ศ. 2561-2564).